วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Tablet

"แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"
แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)
"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก 

"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
ภาพ HP Compaq tablet PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows
แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet
"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม"  

ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก
ภาพ Apple iPad
ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC"
เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel"

ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง

** สรุปความหมายของแท็บเล็ตสั้นๆ ก็คือ คอมพิวเตอร์พกพาหรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสในการใช้งานเป็นหลัก

แต่นั่นก็เป็นมุมมองของแต่ละบริษัทและแต่ละคนว่าจะเรียกมันว่าอะไร ในอนาคตอาจจะมีการนิยามคำว่า แท็บเล็ต ใหม่ให้มันกระชับและครอบคลุมมากกว่านี้ก็ได้

Social Media

Social Media
Social Media หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่าย ของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือมากขึ้นเรื่อยๆ
Social Network หมายถึง เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสร้างสังคมเครือข่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่น www.facebook.com ส่วน http://twitter.com เป็น micro blog site ชึ่งเป็น Social Media ชนิดหนึ่ง
ขั้นตอนการสมัครเข้าใช้งาน facebook
1.            เข้าไปที่ www.facebook.com
2.            กรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อีเมล์แอดเดรส รหัสผ่าน เพศ และวันเดือนปีเกิด
3.            คลิกปุ่ม Sign Up
4.            กรอกตัวอักษรตามภาพที่เห็น คลิกปุ่ม Sign Up
5.            Step 1 ให้เราเพิ่มเพื่อน แต่ให้เราข้ามไปก่อนได้ คลิก Skip this step
6.            Step 2 ให้เรากรอกชื่อสถานศึกษา ปีที่จบ หรือ กรอกบริษัทที่ทำงาน แต่ข้ามไปก่อนได้ คลิก Save & Continue
7.            Step 3 ให้เราคลิกเลือกอัพโหลดไฟล์ภาพแทนตัวคุณ แต่ข้ามไปก่อนได้ คลิก Save & Continue

การใช้งาน facebook
การโพสข้อความ
1.            ไปที่หน้า Profile ของคุณ
2.            พิมพ์ข้อความที่อยากจะโพสลงบนกล่องคุณกำลังคิดอะไรอยู่
3.            กด โพส เพื่อยืนยันข้อความ

การคอมเมนต์เพื่อน
1.            ไปยังข้อความอัพเดทของเพื่อนที่คุณต้องการคอมเมนต์
2.            คลิกแสดงความคิดเห็น
3.            พิมพ์ข้อความที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
4.            กด Enter
social media ในที่ทำงานนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านใดได้บ้าง
1. Facebook เป็นโซเชียลยอดนิยมอันดับหนึ่งที่มีผู้ใช้มากที่สุด ไอเดียสำหรับการใช้เฟซบุคในการทำงานก็คือ การสร้างกลุ่มสังคมเครือข่ายในที่ทำงาน เพื่อการทำงานร่วมกันเป็นทีม แลกเปลี่ยนไอเดียความคิดเห็นในเรื่องงาน การสอบถามปัญหาในงานกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้รู้ การนำเสนอผลงานที่ต้องการฟีดแบค เป็นต้น
2. Twitter เหมาะสำหรับการรายงานสถานะความเคลื่อนไหวในการทำงาน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องที่ต้องการจะประกาศให้ทราบ แจ้งข่าวสารกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่ออัพเดทความเป็นไปให้ทราบเป็นระยะ ๆ เช่น เถ้าแก่จะตื่นมาด้วยความสบายใจเมื่อเห็นข้อความสั้น ๆ เหมือนพาดหัวข่าวใน timeline ตอนเช้าว่า งานที่มอบหมายให้ลูกจ้างกลับไปทำต่อที่บ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยามกะดึกที่เฝ้าโกดังรายงานความสงบเรียบร้อยทุก ๆ 20 นาีที คนขับรถส่งสินค้าไปถึงท่าเรือได้ทันเวลา เป็นต้น
3. Wiki ใช้สำหรับจัดการความรู้ขององค์กร หรือทำ KM นั่นเอง โดยเปิดพื้นที่ให้พนักงานเ้ข้าไปเขียนบันทึกจัดเก็บไว้เป็นคลังความรู้ขององค์กร ให้คนทำงานได้สืบค้นและเรียนรู้ตามได้ ใช้เป็นคู่มือในการทำงานก็ได้ ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการแก้ไขปัญหา หรือตอบคำถามที่พบบ่อยก็ได้ พนักงานบางคนจะไม่มีวันถูกไล่ออกจากงาน เพราะเขาเป็นคนเขียน wiki ของที่ทำงาน เหมือนเป็นคัมภีร์ประจำออฟฟิศนั่นหมายความว่าความมั่นคงในงานของพนักงานก็สูงขึ้นด้วย
4. Youtube การถ่ายทอดผ่านวิดีโอ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจได้ดีมากขึ้นกว่าการอ่านผ่านตัวหนังสือ ดังนั้น ไอเดียในการนำยูทูปมาใช้ในการฝึกอบรมหรือการสาธิตวิธีการทำงานจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการพัฒนาความรู้ทักษะของพนักงาน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์พนักงานได้อีกด้วย เช่น เมื่อมีผู้สมัครงานที่น่าสนใจจะรับเข้าทำงาน ก็ให้ผู้สมัครแนะนำตัวและตอบคำถามตามหัวข้อที่แจ้งไว้ อัดวิดีโอส่งผ่านยูทูปมา ก็จะลดต้นทุนได้ทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้สัมภาษณ์ และผู้ถูกสัมภาษณ์ เป็นต้น
5. Foursquare ใช้ในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีสาขาหลายแห่ง และมีการตรวจเยี่ยมพื้นที่ เช่น เซลส์ที่ต้องไปพบลูกค้าต่างจังหวัด ก็เช็คอินเวลาไปถึงสถานที่นัดหมาย ทำให้ผู้จัดการหรือหัวหน้าทีมขายติดตามการเข้าพบลูกค้าตามแผนออกทริปได้ หรือ การตรวจประเมินโดยออดิเตอร์ที่ต้องไปออดิทพนักงานประจำสาขา หรือตามห้างร้านต่าง ๆ ก็สามารถบันทึกข้อมูลการตรวจเยี่ยมในพื้นที่ต่าง  ๆ ไว้ให้สำนักงานใหญ่ควบคุมดูแลหรือมอนิเตอร์ดูได้  เป็นต้น
6. Instagram เน้นการโพสต์รูปภาพ แชร์รูปภาพเป็นหลัก เอามาประยุกต์ใช้ในการรายงานด้วยภาพ เช่น ภาพกิจกรรมต่าง ๆ การสัมมนา การประกวด การมอบของรางวัล การทำงานที่เสี่ยงอันตราย ชิ้่นงานที่ได้คุณภาพ ตัวอย่างของเสีย กิจกรรมนอกสถานที่ การแข่งกีฬา การดูงาน การทำ 5ส. สภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ ฯลฯ หรือนำมาใช้เป็นภาพประกอบในการแจ้งเรื่องร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะไคเซ็น เป็นต้น
7. Blog เอาไว้ใช้เขียนบทความ หรือข้อความที่มีเนื้อหารายละเอียดมากหน่อย ซึ่งเฟซบุค หรือทวิตเตอร์มีข้อจำกัด สามารถเขียนรีวิว เขียนรายงาน เขียนบันทึกการทำงาน ข้อค้นพบ การแก้ไขปัญหาในงาน ซึ่งสามารถใส่ภาพประกอบได้ เป็นการบันทึกข้อมูลที่เป็นหลักฐานอ้างอิงที่ดีไว้สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงาน เช่น หัวหน้าที่ได้อ่านไดอารี่การทำงานของพนักงานก็จะสามารถตรวจสอบการทำงานย้อนหลัง และประเมินผลงาน หรือดูพัฒนาการของลูกน้องได้
8.  Webboard เอาไว้ตั้งกระทู้ สอบถามปัญหาในงาน หรือเรื่องต่าง ๆ ที่พนักงานสนใจ เช่น สวัสดิการพนักงาน นโยบาย กฎระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ หรือเอาไว้ใช้ประกาศตำแหน่งงานว่างในองค์กร หรือตั้งกระทู้สำหรับระดมสมอง ประชันไอเดีย รับฟังข้อเสนอแนะ เป็นต้น
9. Google Docs นำมาใช้ในการจัดการไฟล์เอกสารร่วมกัน จะได้ไม่ยุ่งยากในการเซฟข้อมูลเป็นหลายไฟล์ สามารถแก้ไขเอกสารร่วมกันได้ แล้วเซฟเป็นไฟล์ที่อัพเดทล่าสุดเป็นไฟล์เดียว ทีมงานสามารถอัพโหลด ดาวโหลด ไฟล์งานไว้ในโฟลเดอร์กลางที่ทุกคนต้องใช้งานร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาใช้ทำแบบสอบถามออนไลน์ได้อีกด้วย ลดภาระการถ่ายเิอกสารแจกจ่ายไปยังทุกแผนก ซึ่งสิ้นเปลืองกระดาษแถมยังไม่ได้รับการตอบกลับอีกต่างหาก
10. Drop Box มีประโยชน์คือ เป็นฮาร์ดดิสก์สำรองออนไลน์ ไว้เก็บข้อมูลเผื่อฉุกเฉิน บางทีไปทำงานแต่ดันลืมหน่วยความจำสำรองไว้ที่บ้าน ก็สามารถดาวโหลดไฟล์ที่เก็บไว้ในดร็อปบ็อกซ์มาใช้งานได้อย่างทันท่วงที เป็นที่ฝากไฟล์ซึ่งสามารถแชร์กล่องเก็บข้อมูลให้ผู้อื่นใช้ร่วมกันได้ง่าย
11. Skype เอาไว้ใช้งานเวลามีประชุมทางไกล ออนไลน์แบบเห็นหน้ากันเรียลไทม์ ต้นทุนต่ำแต่ระดับปฏิสัมพันธ์สูง นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้ในการนัดหมายสัมภาษณ์งานทางไกลได้ด้วย ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ต้องมีอุปกรณ์และเวลาที่ตรงกัน จำลองสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้เหมือนเจอตัวจริงกันเป็นๆ
                เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556



Video Conference

Video Conference
         คือระบบการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ และข้อมูล เสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร ซึ่งจะเป็นลักษณะของการโต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสานระหว่างภาพและเสียง ให้เปรียบเสมือนมีการประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน

Video Conference
http://www.google.co.th/imgres?hl=th&sa=X&biw=1311&bih=516&tbm=isch&tbnid=4uIoHh37kbFHtM:&imgrefurl=http://krukrit.kkw2.ac.th/lesson1-1.html&docid=0oZE2wSq29ZIIM&imgurl


ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Video Conference System

ในการนำระบบ Video Conference เข้ามาใช้ในธุรกิจนั้นช่วยให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทางตรง คือ สามารถวัดผลที่ได้ออกมาในรูปของตัวเงิน คือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนในทางอ้อมนั้นวัดเป็นรูปตัวเงินได้ยาก เช่น ช่วยให้ประหยัดเวลา ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังสามารถสรุปประโยชน์ที่ได้เป็นดังนี้
1.            ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาประชุม, อบรม
2.            สามารถทำการประชุมเพื่อวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
3.            ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรมากขึ้น
4.            ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทาง
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556                                                                       

webquest

WebQuest คือ อะไร  ?

                 WebQuest   คือ  บทเรียนการแสวงรู้บนเว็บ ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบของสื่อการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่เบอร์นี่ ด็อจ (Bernie Dodge) แห่ง San Diego State University สหรัฐอเมริกาได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะขั้นสูงในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ  ที่มีอยู่บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยกิจกรรมบนบทเรียนเป็นตัวเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้และต้องการสืบเสาะค้นหาข้อมูล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในรูปแบบของการตั้งสมมติฐานและสมมติสถานการณ์   โดยการเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลความรู้ต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าต่อเนื่องไปได้ไม่รู้จบ ตามความสนใจของผู้เรียน แต่ละคน ช่วยให้ผู้เรียนสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับกิจกรรม  นอกจากนี้ได้มีผู้ให้คำนิยามรวมถึงความหมายของบทเรียนการแสวงรู้บนเว็บ (WebQuest) ไว้ซึ่งสามารถสรุปได้คือ เป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐานโดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการฝึกนิสัย  และทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากระบวนการทำงานกลุ่มและการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ บนระบบอินเตอร์เน็ต  (Dodge, 1995 ; Owen, 1999 และวสันต์ อติศัพท์, 2546)  รูปแบบการเรียนด้วยบทเรียนการแสวงรู้บนเว็บนี้ ยังจะช่วยเพิ่มคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) และการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method) ซึ่งผู้เรียนจะต้องนำความรู้ที่ได้จากการสืบค้นมาวิเคราะห์ซึ่งเป็นจุดหลักที่สำคัญของการศึกษาในปัจจุบันที่ไม่เน้นให้ผู้เรียนท่องจำแต่เน้นความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการและวิเคราะห์ออกมาเป็นความรู้ของตนเองหรือที่เรียกว่า การสร้างองค์ความรู้โดยผู้เรียนเอง (Yates ,2003 ในชาคริต อนันตวัฒนวงศ์, 2549) กล่าวว่า เว็บเควสท์ (WebQuest)  เป็นการให้ประสบการณ์โดยตรงแก่ผู้เรียน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง แล้วให้ผู้เรียนเข้าหาข้อมูล เนื้อหาที่สอดคล้องกับประสบการณ์การเรียนรู้นั้นๆ  วสันต์ (2547) ได้ให้นิยามของ WebQuest ว่า คือกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิสัมพันธ์ กับผู้เรียนบนแหล่งต่างๆในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต   WebQuest  เน้นการใช้สารสนเทศ มากกว่าการแสวงหาสารสนเทศ สนับสนุนผู้เรียนในขั้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่า  ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้จินตนาการ และทักษะการแก้ปัญหา  โดยผู้เรียนจะต้องค้นพบคำตอบและสร้างสรรค์ด้วยตนเอง  ผ่านทางเว็บไซต์ ที่ครูผู้สอนเสนอแนะอย่างมีความหมาย  Lasley, Matczynski, & Rowley (2002)     กล่าวว่า WebQuest  คือวิถีทางในการแสวงหาความรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน กิจกรรมกลุ่มนี้จะให้ผู้เรียนร่วมกันเข้าใจถึงเนื้อหาต่างๆพัฒนากระบวนการ ในการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่ม    อีกทั้งยังนำข้อมูลพื้นฐานที่ครูผู้สอนแนะนำจากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ได้   Peterson, et. al. (2003)    กล่าวว่า  WebQuest เป็นกลุ่มของข้อปัญหาและงานต่างๆ ให้ผู้เรียนได้พยายามเข้าศึกษาข้อมูล เนื้อหาต่างๆ และยังเป็นการชี้แนะให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลตามที่ครูผู้สอนได้เจาะจงแหล่งข้อมูล เว็บต่างๆ    ซึ่งสนับสนุนการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือการเรียนร่วมกัน (Teams in a Class)   March (2004)  กล่าวถึง WebQuest ว่าเป็นการจัดโครงสร้างในการเรียนรู้ที่มีลักษณะเป็นโครงร่าง  (Scaffolded  Learning Structure)  โดยใช้ตัวเชื่อมโยง (Link) ไปยังแหล่งต่างๆ บนเครือข่ายเว็บทั่วโลก (World Wide Web) และมีงานต่างๆ ชักชวนให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ จากข้อคำถามนั้นๆ พัฒนาทักษะเฉพาะ และโต้ตอบกับกระบวนการของกลุ่ม ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลใหม่ๆ ไปใช้แก้ปัญหาได้ด้วยความเข้าใจ   (วสันต์  อติศัพท์,   2546)
             ดังนั้นอาจสรุปคำจำกัดความของ เว็บเควสท์ (WebQuest)  ได้ว่าเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้   โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน  ครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบ บทเรียนไม่ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนแต่ฝ่ายเดียว แต่เป็นผู้จัดกลุ่ม เรียบเรียง และลำดับความรู้ต่างๆ ให้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เข้าถึงความรู้นั้นๆ  อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน โดยมุ่งการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ  ลักษณะของ WebQuest ที่สำคัญคือ  แสดงเพียงโครงร่างเนื้อหา เป็นกรอบของความรู้ที่ผู้เรียนต้องหรือควรจะศึกษาไม่ได้มุ่งแสดงเนื้อหารายละเอียดของความรู้นั้นๆ ที่ชี้ชัดลงไปโดยตรง ดังเช่นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วๆ ไปที่ผู้ออกแบบได้ระบุเนื้อหาเฉพาะเพียงกรอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการเท่านั้น วิธีการของ WebQuest ในการเข้าสู่เนื้อหาความรู้ต่างๆ ได้โดยใช้ตัวเชื่อมโยง บนหน้าเว็บเพจหลัก ของกรอบโครงสร้างเนื้อหาหลัก   ที่ผู้ออกแบบจัดกลุ่ม เรียบเรียงและลำดับ     เชื่อมโยงไปยังแหล่งความรู้อื่นๆ ในเว็บไซต์อื่น ที่ผู้สอนหรือผู้ออกแบบพิจารณาเห็นว่า   มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ให้เกิดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยคุณลักษณะบทเรียนแบบ WebQuest  ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือก และย่อยองค์ความรู้ต่างๆ  รวมถึงจับกลุ่มผู้เรียนด้วยกันได้อย่างอิสระ สอดคล้องกับความต้องการความสามารถ ทางสติปัญญา ทั้งของตนเองและของกลุ่มได้ สนับสนุนผู้เรียนในขั้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่า ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้จินตนาการและทักษะการแก้ปัญหา โดยผู้เรียนจะต้องค้นพบคำตอบและสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ที่ครูผู้สอนเสนอแนะอย่างมีความหมาย

            ตัวอย่าง WebQuest  ในประเทศไทย
            เรื่อง  การพัฒนาบทเรียนแสวงรู้บนเว็บ หน่วย มนุษย์กับสภาวะแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ สำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 (วริพัสย์ แก้ฉาย ,2549)http://www.keereerat.ac.th/webQuest/webquest_2/web/intro.html




webquest
http://www.google.co.th/imgres?hl=th&sa=X&biw=1311&bih=516&tbm=isch&tbnid=aC1VNOqP5SYzsM:&imgrefurl=http://nattapongku.wikispaces.com/%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%2BWeb%2BQuest&docid=iKoXbImOdEhjAM&imgurl
นำมาใช้ในการเรียนการสอน
การนำ   webquest  ไปใช้ในการศึกษา จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองได้ แต่ก่อนที่จะนักเรียนจะเรียนรู้ ครูต้องศึกษารายละเอียด คัดสรรสิ่งดีๆเพื่อให้นักเรียนค้นคว้าต่อไป ประหยัดเวลา ข้อมูลเชื่อถือได้




เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556